ยังคงได้รับเสียงวิจารณ์แง่ลบอย่างต่อเนื่องกับ Battlefield 2042 ที่ในเวลานี้บทวิจารณ์ในแง่ไม่ดีบน Steam นั้นได้มีมากถึง 32,000 ข้อความด้วยกัน เมื่อวานนี้ (21 พ.ย. 2564) – หลังจากได้ผ่านการวางขายอย่างเป็นทางการไปได้ไม่นานมานี้ Battlefield 2042 ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่ลบไปได้แล้วถึง 32,000 กว่าข้อความด้วยกัน ทำให้มันถือว่าเป็นหนึ่งในเกมส์ที่ได้รับเสียงวิจารณ์แย่ที่บนแพลตฟอร์ม Steam และอาจจะไวที่สุดด้วยเช่นกัน (ภายในเวลา 2-3 วันหลังปล่อยเป็นทางการ)
โดยเสียงวิจารณ์แง้ลบส่วนใหญ่นั้นก็มีด้วยกันอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น
ปัญหาในส่วนของ UI และหน้า Menu ของตัวเกมส์, ข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่ปรากฏภายในตัวเกมส์ (Bugs), แผนที่ที่กว้างใหญ่จนว้างเปล่า และอื่น ๆ อีกมากมาย ทางทีมงานผู้พัฒนาเกมส์นี้ DICE ได้ทำการเผยแพร่รายการปัญหา และข้อบกพร่องต่าง ๆ ภายในเกมส์ที่ได้รับทราบมา ซึ่งปัญหาทั้งหมดนั้นจะได้รับการแก้ไขภายในการอัปเดตตัวเกมส์ที่จะปล่อยมาเป็นประจำ
เมื่ออาทิตย์ก่อนนั้น DICE เองก็ได้ทำการปล่อยการอัปเดตในด้านเครือข่ายครั้งแรก ที่ซึ่งทางทีมงานนั้นได้กล่าวว่าเป็นการดำเนินการแก้ไขปัญหาหลักก่อนที่การปล่อยให้เล่นล่วงหน้าจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหน่วง (rubberbanding) และการกระตุก (stuttering) ของระบบเครือข่าย
Adam Freeman, หัวหน้าผู้จัดการด้านชุมชนผู้เล่นของ EA ได้กล่าวถึงการดำเนินงานของ DICE ว่า “ในช่วงอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ทางเราจะเริ่มทำการเปิดเผยข้อมูลถึงการแก้ไข-ซ่อมแซม การดำเนินการปรับความสมดุลของเกมส์ และการเสริมคุณภาพของตัวเกมส์ในอนาคต”
“ภายในระยะเวลา 30 วันครั้งหน้า พวกเราจะทำการนำเสนอกรอบเวลาในการปล่อยการอัปเดตครั้งต่อไปอีก 2 ครั้ง ด้วยการที่การอัปเดตครั้งต่อไปของเรานั้นจะส่งมอบถึงการแก้ไข และการพัฒนาที่มากขึ้นจากสิ่งที่พวกเราได้พบเจอระหว่างช่วงอาทิตย์ของการเปิดให้เล่นล่วงหน้า และหลังจากนั้นจะเป็นการอัปเดตที่ใหญ่ และมีเนื้อหามากขึ้น”
นอกจากปัญหาต่าง ๆ จนตัวเกมส์ได้รับเสียงวิจารณ์ในแง่ลบแล้วนั้น Battlefield 2042 ยังทำการปล่อยออกมาโดยปราศจากระบบสื่อสารด้วยเสียงภายในเกมส์อีกด้วย และยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่ามันเพิ่มเข้ามาเมื่อไหร่กันแน่
โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในประเทศไทย (CDA) จะเริ่มขับเคลื่อนโครงการต่างๆ โดยมุ่งเน้นด้านต่อไปนี้:
Connected Healthcare: ซิสโก้จะทำงานร่วมกับข่ายงานสุขภาพทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการให้บริการด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆ มาช่วยทำให้บริการของโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนับว่าจำเป็นอย่างมากเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดตอกย้ำถึงความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อสร้างความมั่นใจต่อบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพแก่ประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึง
5G สำหรับองค์กร: ซิสโก้จะช่วยพัฒนาและทดสอบโซลูชั่นเครือข่าย 5G เพื่อมอบประโยชน์ที่มากขึ้นให้แก่องค์กร และเพิ่มประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายสำหรับลูกค้าซึ่งนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเครือข่าย 5G สามารถรับส่งข้อมูลจำนวนมากได้รวดเร็วกว่า จึงช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างลูกค้ากลุ่มต่างๆ รวมไปถึงแอพ และเทคโนโลยีทางด้านธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการให้บริการ predictive แบบเรียลไทม์ และระบบงานอัตโนมัติที่ชาญฉลาดมากขึ้น รวมถึงโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในภาคธุรกิจที่สำคัญเช่น ภาคการผลิต อีกด้วย
สมาร์ทซิตี้ และระบบขนส่ง: ซิสโก้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยอาศัยเทคโนโลยีชั้นนำที่รองรับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ โดยจะมุ่งเน้นในการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบขนส่งภายในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor – EEC) ให้ทันสมัย รวมถึงโครงการเมกะโปรเจกต์สำหรับระบบขนส่งทางอากาศ รถไฟ ทางบก และทางทะเล โดยครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ไซเบอร์ซีเคียวริตี้: ซิสโก้จะจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในไทย เพื่อยกระดับทักษะของบุคลากรในประเทศ สถาบันฯ แห่งนี้ มีการควบคุมสภาพแวดล้อมแบบอินเทอร์แอคทีฟ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรไซเบอร์ซีเคียวริตี้สามารถร่วมมือกันที่จะตรวจค้น สืบหา และลดการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยประสบการณ์เหล่านี้ องค์กรธุรกิจสามารถผสานทักษะและกระบวนการต่างๆ ที่จะขยายขีดความสามารถการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ซิสโก้จะช่วยสร้างกรอบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Critical National Infrastructure (CNI)) ในประเทศไทย
นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงสองปีที่ผ่านมา การติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัล และการใช้ระบบคลาวด์ได้กลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่ขับเคลื่อนโดยสถานการณ์การแพร่ระบาด องค์กรธุรกิจมีประสบการณ์ตรงกับโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการใช้ดิจิทัล ขณะเดียวกับที่รัฐบาลเร่งการพัฒนาตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมประเทศโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน ที่ซิสโก้ เรามุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เพื่อผลักดันการเติบโต รับมือกับความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี และสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน”
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป